วันจันทร์ที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2554


          ผักสวนครัวรั้วกินได้ การปลูกพืชผักสมุนไพร สำหรับใช้ในครัวเรือน นอกจากจะปลูกในสวน ในแปลง ในกระถาง หรือในภาชนะปลูกอื่น ๆ แล้ว พืชผักสมุนไพรหลายชนิดเราสามารถนำมาปลูกเป็นรั้วบ้านได้ ซึ่งนอกจากจะทำหน้าที่เป็นรั้ว คือ เครื่องล้อมกั้นเป็นเขตของบ้านที่มีความสวยงามดูแปลกตา แตกต่างไปจากรั้วบ้านชนิดอื่น ๆ แล้ว รั้วสมุนไพรยังให้ใบ ให้หน่อ ให้ผล ให้ดอก ให้เรานำไปเป็นอาหารและยารักษาโรคได้อีกด้วย
          โดยทั่วไปพืชผักสมุนไพรที่ใช้ปลูกเป็นรั้วกินได้ มักใช้พืชผักสมุนไพรที่ปลูกง่าย ไม่ต้องการการดูแลรักษามากนัก ทนต่อโรคและแมลงได้ดี เพียงแค่ให้น้ำอย่างสม่ำเสมอ เป็นครั้งคราวก็สามารถเจริญเติบโต และตัดแต่งเป็นรั้วบ้านได้ตามที่เราต้องการ
          การปลูกพืชผักสมุนไพรเป็น "รั้วกินได้" มีอยู่ 2 ประเภทคือ

       1.  รั้วที่ปลูกโดยพืชสมุนไพรยืนต้น ใช้พืชยืนต้นที่ให้หน่อ ใบ ดอก และผลเป็นอาหารและยารักษาโรค โดยนำมาปลูกเป็นแนวรั้วตามที่เราต้องการ พืชเหล่านี้มีลักษณะลำต้นตั้งตรง หรือ ทรงพุ่ม ยืนต้นอยู่ได้ด้วยตัวเอง สามารถตัดแต่งให้เป็นรั้วมีขนาดกว้างและสูงได้ตามต้องการ ได้แก่
  


ใบอ่อนใช้แกงส้มรสเปรี้ยวกำลังดี กลีบเลี้ยงใช้ทำแยม เชื่อมตากแห้งหรือต้มกับน้ำ เติมน้ำตาลทำเป็นน้ำกระเจี๊ยบก็ได้
  


ยอดอ่อนมีรสมันและหวานเล็กน้อยนิยมนำมาเป็นผักสดหรือผักจิ้ม แกล้มแกงเผ็ด ส้มตำ ยำ ขนมจีน ฯลฯ
  


ยอดอ่อนนำมาดองเกลือ ตากแดดทิ้งไว้ 2- 3 วัน ใบอ่อนจะนิ่ม ยอดอ่อนจะกรอบและมีรสเปรี้ยว นำมารับประทานเป็นผักจิ้ม หรือนำไปผัดหรือแกงส้ม
  


ดอกตูมและใบอ่อนมีรสขม ก่อนปรุงอาหารจะต้องนำมาต้มแล้วเทน้ำทิ้ง 2- 3 ครั้ง เพื่อลดความขม นิยมทำแกงคั่วใส่กะทิ หรือกินเป็นผักจิ้มน้ำพริก
  


ใช้ดอกที่ยังไม่บานดึงเอาเกสรเพศเมียสีเหลืองอ่อนออกเพราะทำให้ขม ยอดอ่อน และฝักอ่อน นำมาจิ้มเป็นผักสดหรือต้มลวกก็ได้ หากราดด้วยน้ำกะทิจะข่วยให้มีรสชาติดีขึ้น นอกจากนี้ดอกยังนำไปปรุงใส่แกงส้ม แกงคั่ว แกงจืด หรือผัดกับกุ้งได้
  


ใช้ใบเพสลาดต้มกับปลา เนื้อหมู เนื้อไก่ เนื้อวัว รับประทานหรือจะนำมาปรุงเพิ่มตะไคร้ ใบมะกรูด พริกขี้หนู น้ำมะนาว เป็นต้มยำก็ได้ จะได้รสชาติแปลกกว่าต้มยำโดยทั่วไป
  


ยอดนำมาเป็นผักจิ้มขณะสด หรือปรุงโดยทำชะอมชุบไข่ทอด ผัดใส่ไข่ การลวกหรือต้มแล้วราดด้วยกะทิ และยังสามารถนำมาเป็นผักใส่แกงป่าและแกงคั่ว
  


ดอกต้มกินเป็นผักจิ้มน้ำพริก หรือเก็บดอกมาดองเกลือ 1 คืน รุ่งขึ้นใส่น้ำซาวข้าวหรือน้ำมะพร้าวห้าว หมักทิ้งไว้ 2 คืน จะมีรสเปรี้ยวนำมาเป็นผักเคียงจิ้มน้ำพริกได้ ไม่ควรกินเกิน 2-3 ดอก เพราะมีฤทธิ์เป็นยาถ่าย
  


ใบ และยอดอ่อน ลวกจิ้มน้ำพริก หรือใช้ห่อเมี่ยงคำ
  


ใช้ยอดอ่อนมาใส่แกงคั่ว เช่นแกงคั่วฟักทอง แกงคั่วแฟง เพื่อให้มีรสเผ็ดและฉุน สำหรับใบเพสลาดและใบแก่นำมาตำน้ำพริก จะทำให้น้ำพริกมีรสฉุนเหมือนน้ำพริกแมงดา
  


ยอดอ่อน นิยมนำมาลวกหรือต้มราดกะทิเป็นผักจิ้มน้ำพริก หรือแกงคั่ว นอกจากนี้ยังนำมาใส่แกงเลียง แกงจืดหมูสับ แกงป่าก็ได้
  


นิยมใช้หน่อมาปรุงเป็นอาหารเช่นแกงจืด แกงเลียง แกงเผ็ด จิ้มน้ำพริก ผัด ก่อนปรุงควรนำมาต้มให้สุกเสียก่อนเพื่อลดความขื่น
  


ใบเพสลาด ใช้ประกอบในอาหารไทยใส่ในแกงเผ็ดทุกชนิด เพื่อลดกลิ่นคาวและให้อาหารมีกลิ่นหอม ใบอ่อนหั่นฝอยรับประทานเป็นผักประกอบในข้าวยำของชาวไทยภาคใต้ นอกจานี้นำไปทอดกรอบโรยบนหมูหรือเนื้อทอดก็ได้ หอมอร่อยอย่าบอกใครเชียว
  


ยอดอ่อน นิยมนำมากินเป็นผักสดแกล้มแกงเผ็ด
  


ยอดอ่อนนิยมนำแกงส้ม แกงคั่ว แกงเลียง และต้มกะทิ
  


ผล นำมาซอยตำน้ำพริก ใบอ่อนและใบเพสลาดนำมาใส่ในต้มยำให้มีรสเปรี้ยว หรือนำมากินเป็นผักแกล้ม และใส่ในผักดองเพื่อให้มีรสเปรี้ยวและไม่บูดเสียได้ง่าย
  


ใช้ยอดอ่อน เป็นผักแกล้มกับแกงเผ็ด ยำ หรือใช้จิ้มน้ำพริกก็ได้
  


ยอดอ่อนรับประทานเป็นผักเหนาะ
  


ยอดและผลอ่อนนิยมนำมาลวกหรือต้มและราดด้วยน้ำกะทิเป็นผักจิ้มน้ำพริก หรือใช้ยอดอ่อนเป็นผักใส่ในห่อหมก แกงเลียง และแกงอ่อม ผลแก่ใช้ทำส้มตำ
  


ยอดอ่อนใช้เป็นผักสดสำหรับจิ้มน้ำพริก จิ้มปลาร้า ใส่ในแกงคั่วปลาดุก รองก้นกระทงห่อหมก ในภาคใต้นิยมนำมาทำกุ้งและปลาชุบแป้งทอดกินกับน้ำจิ้ม
  


ดอกและยอดอ่อนนำมาลวกด้วยน้ำเดือดหรือน้ำข้าวร้อน ๆ หรือฟาดไฟเพื่อลดความขมแล้วนำมาเป็นผักจิ้มน้ำปลาพริกหรือน้ำปลาหวาน แกล้มปลาดุกย่าง
  


ยอดอ่อนและดอกนำมาเป็นผักสดรับประทานกับแกงเผ็ด หรือจิ้มน้ำพริก มีกลิ่นหอมฉุนคล้าย ๆ ใบโหระพา นิยมรับประทานในภาคใต้
  


ดอกใช้ทำอาหารได้หลายชนิด เช่น แกงส้ม ยำ ทอดกับไข่ หรือลวกจิ้มน้ำพริก นอกจากนี้ ยังทำเป็นขนมดอกโสนได้อีกด้วย
  


ใช้ยอดอ่อน ใบเพสลาดมาประกอบอาหารได้อย่างด้วยกันคือ แกงเลียง แกงจืด ต้มและลวก ทำห่อหมก จิ้มน้ำพริก ต้มต้มกะทิ ผัดผักรวม ผัดน้ำมันหอย ฯลฯ เมล็ดอ่อน ใช้แกงจืด เมล็ดแก่ต้มกับเกลือรสชาติอร่อย
  

       2.  รั้วที่ปลูกโดยพืชสมุนไพรชนิดเลื้อยเกาะ ใช้พืชผักสมุนไพรที่มีลำต้นเป็นเถาเลื้อยพัน ยึดเกาะกับแนวหรือโครงรั้วที่สร้างด้วยวัสดุต่างๆ เช่น รั้วเหล็กดัด รั้วลวดหนาม รั้วขัดแตะ รั้วไม้รวก รั้วไม้ไผ่ ฯลฯ พืชสมุนไพรที่นำมาปลูกเลื้อยเกาะรั้วนี้มักเป็นพืชล้มลุก ซึ่งจะให้ใบ ยอดอ่อน ดอก และผลเป็นอาหาร ได้แก่
  


ยอดอ่อนนำมาต้มแล้วราดด้วยน้ำกะทินำมาเป็นผักจิ้มน้ำพริก
  


ดอกตูมและดอกบานใช้ทำอาหารได้หลากหลายชนิด เช่น แกงส้ม แกงจืด ไข่ตุ๋น ยำ ผัด ลวกเป็นผักจิ้มน้ำพริก หรือ ชุบแป้งทอดกรอบ
  


ใช้ยอด ใบอ่อน ผลอ่อน นำไปลวกเป็นผักจิ้มน้ำพริก หรือนำยอดและใบอ่อนปรุงเป็นแกงจืด แกงเลียง แกงคั่ว แกงกะทิ ใส่ในก๋วยเตี๋ยว หรือผัดไข่เจียวใส่ใบตำลึงก็อร่อยดี
  


ฝักอ่อนใช้รับประทานเป็นผักสด จิ้มนำพริก หรือ แกล้มกับแกงเผ็ด ลาบ นอกจากนี้ยังนิยมนำมาแกง ผัด หรือยำ และหั่นฝอยใส่ในทอดมันปลา
  


ฝักอ่อนนำมาเป็นผักสด ผักจิ้ม กินแกล้มกับแกงเผ็ด ลาบ ส้มตำ ฯลฯ นอกจากนี้ยังนิยมนำมาแกง ผัด หรือยำ และหั่นฝอยใส่ในทอดมันปลา
  

ผลอ่อนนำมาลวกหรือต้มเป็นผักจิ้ม หรือผัดใส่ไข่ แกงใส่กะทิ ทำแกงจืดและแกงเลียง ยอดอ่อนนำมาลอกเปลือกออกแล้วลวกหรือต้มเป็นผักจิ้มน้ำพริก ยิ่งถ้าราดด้วยน้ำกะทิจะมีรสชาติดีขึ้น
  


ผลอ่อนนำมาต้มหรือลวกเป็นผักจิ้มน้ำพริก นำมาแกงจืด แกงเลียง ผัดน้ำมัน หรือผัดใส่ไข่ ได้หลายอย่าง
  


ดอก ยอดและใบอ่อนรับประทานเป็นผักสดหรือนำมาลวกเป็นผักจิ้มน้ำพริก และใส่แกงอ่อมหอย แกงแค หรือแกงส้ม
  


ช่อดอกอ่อนนำมาลวกหรือต้มเป็นผักจิ้มน้ำพริก ผัดใส่ไข่ และชุบแป้งทอดกรอบจิ้มน้ำซอส
  


ผลอ่อน ยอดอ่อนที่ลอกเปลือกออกแล้วนำมาลวกหรือต้มเป็นผักจิ้มน้ำพริก ถ้าราดด้วยน้ำกะทิจะมีรสชาติดีขึ้น หรือผัดใส่ไข่ ผลแก่นำมาแกงใส่กะทิ และทำแกงจืด
  
  


ผลอ่อน ยอดอ่อนที่ลอกเปลือกออกแล้วนำมาลวกหรือต้มเป็นผักจิ้มน้ำพริก ถ้าราดด้วยน้ำกะทิจะมีรสชาติดีขึ้น ผัดใส่ไข่ แกงใส่กะทิ ทำแกงจืดและมะระยัดไส้ด้วยหมูสับ
  


ใช้ยอด ใบอ่อน และผล นำมาลวกหรือต้มเป็นผักจิ้มน้ำพริก นอกจากนี้ยอดและใบอ่อนนำมาทำเป็นแกงเลียง ต้มกะทิ ผลนำมาผ่าซีกเอาเมล็ดออกใส่ในแกงกะทิก็ได้
  


ใบอ่อน แก่ โขลกคั้นน้ำมาแกงกับ หน่อไม้ แกงขี้เหล็ก

          ผักสวนครัวรั้วกินได้ การปลูกพืชผักสมุนไพร สำหรับใช้ในครัวเรือน นอกจากจะปลูกในสวน ในแปลง ในกระถาง หรือในภาชนะปลูกอื่น ๆ แล้ว พืชผักสมุนไพรหลายชนิดเราสามารถนำมาปลูกเป็นรั้วบ้านได้ ซึ่งนอกจากจะทำหน้าที่เป็นรั้ว คือ เครื่องล้อมกั้นเป็นเขตของบ้านที่มีความสวยงามดูแปลกตา แตกต่างไปจากรั้วบ้านชนิดอื่น ๆ แล้ว รั้วสมุนไพรยังให้ใบ ให้หน่อ ให้ผล ให้ดอก ให้เรานำไปเป็นอาหารและยารักษาโรคได้อีกด้วย
          โดยทั่วไปพืชผักสมุนไพรที่ใช้ปลูกเป็นรั้วกินได้ มักใช้พืชผักสมุนไพรที่ปลูกง่าย ไม่ต้องการการดูแลรักษามากนัก ทนต่อโรคและแมลงได้ดี เพียงแค่ให้น้ำอย่างสม่ำเสมอ เป็นครั้งคราวก็สามารถเจริญเติบโต และตัดแต่งเป็นรั้วบ้านได้ตามที่เราต้องการ
          การปลูกพืชผักสมุนไพรเป็น "รั้วกินได้" มีอยู่ 2 ประเภทคือ

       1.  รั้วที่ปลูกโดยพืชสมุนไพรยืนต้น ใช้พืชยืนต้นที่ให้หน่อ ใบ ดอก และผลเป็นอาหารและยารักษาโรค โดยนำมาปลูกเป็นแนวรั้วตามที่เราต้องการ พืชเหล่านี้มีลักษณะลำต้นตั้งตรง หรือ ทรงพุ่ม ยืนต้นอยู่ได้ด้วยตัวเอง สามารถตัดแต่งให้เป็นรั้วมีขนาดกว้างและสูงได้ตามต้องการ ได้แก่
  


ใบอ่อนใช้แกงส้มรสเปรี้ยวกำลังดี กลีบเลี้ยงใช้ทำแยม เชื่อมตากแห้งหรือต้มกับน้ำ เติมน้ำตาลทำเป็นน้ำกระเจี๊ยบก็ได้
  


ยอดอ่อนมีรสมันและหวานเล็กน้อยนิยมนำมาเป็นผักสดหรือผักจิ้ม แกล้มแกงเผ็ด ส้มตำ ยำ ขนมจีน ฯลฯ
  


ยอดอ่อนนำมาดองเกลือ ตากแดดทิ้งไว้ 2- 3 วัน ใบอ่อนจะนิ่ม ยอดอ่อนจะกรอบและมีรสเปรี้ยว นำมารับประทานเป็นผักจิ้ม หรือนำไปผัดหรือแกงส้ม
  


ดอกตูมและใบอ่อนมีรสขม ก่อนปรุงอาหารจะต้องนำมาต้มแล้วเทน้ำทิ้ง 2- 3 ครั้ง เพื่อลดความขม นิยมทำแกงคั่วใส่กะทิ หรือกินเป็นผักจิ้มน้ำพริก
  


ใช้ดอกที่ยังไม่บานดึงเอาเกสรเพศเมียสีเหลืองอ่อนออกเพราะทำให้ขม ยอดอ่อน และฝักอ่อน นำมาจิ้มเป็นผักสดหรือต้มลวกก็ได้ หากราดด้วยน้ำกะทิจะข่วยให้มีรสชาติดีขึ้น นอกจากนี้ดอกยังนำไปปรุงใส่แกงส้ม แกงคั่ว แกงจืด หรือผัดกับกุ้งได้
  


ใช้ใบเพสลาดต้มกับปลา เนื้อหมู เนื้อไก่ เนื้อวัว รับประทานหรือจะนำมาปรุงเพิ่มตะไคร้ ใบมะกรูด พริกขี้หนู น้ำมะนาว เป็นต้มยำก็ได้ จะได้รสชาติแปลกกว่าต้มยำโดยทั่วไป
  


ยอดนำมาเป็นผักจิ้มขณะสด หรือปรุงโดยทำชะอมชุบไข่ทอด ผัดใส่ไข่ การลวกหรือต้มแล้วราดด้วยกะทิ และยังสามารถนำมาเป็นผักใส่แกงป่าและแกงคั่ว
  


ดอกต้มกินเป็นผักจิ้มน้ำพริก หรือเก็บดอกมาดองเกลือ 1 คืน รุ่งขึ้นใส่น้ำซาวข้าวหรือน้ำมะพร้าวห้าว หมักทิ้งไว้ 2 คืน จะมีรสเปรี้ยวนำมาเป็นผักเคียงจิ้มน้ำพริกได้ ไม่ควรกินเกิน 2-3 ดอก เพราะมีฤทธิ์เป็นยาถ่าย
  


ใบ และยอดอ่อน ลวกจิ้มน้ำพริก หรือใช้ห่อเมี่ยงคำ
  


ใช้ยอดอ่อนมาใส่แกงคั่ว เช่นแกงคั่วฟักทอง แกงคั่วแฟง เพื่อให้มีรสเผ็ดและฉุน สำหรับใบเพสลาดและใบแก่นำมาตำน้ำพริก จะทำให้น้ำพริกมีรสฉุนเหมือนน้ำพริกแมงดา
  


ยอดอ่อน นิยมนำมาลวกหรือต้มราดกะทิเป็นผักจิ้มน้ำพริก หรือแกงคั่ว นอกจากนี้ยังนำมาใส่แกงเลียง แกงจืดหมูสับ แกงป่าก็ได้
  


นิยมใช้หน่อมาปรุงเป็นอาหารเช่นแกงจืด แกงเลียง แกงเผ็ด จิ้มน้ำพริก ผัด ก่อนปรุงควรนำมาต้มให้สุกเสียก่อนเพื่อลดความขื่น
  


ใบเพสลาด ใช้ประกอบในอาหารไทยใส่ในแกงเผ็ดทุกชนิด เพื่อลดกลิ่นคาวและให้อาหารมีกลิ่นหอม ใบอ่อนหั่นฝอยรับประทานเป็นผักประกอบในข้าวยำของชาวไทยภาคใต้ นอกจานี้นำไปทอดกรอบโรยบนหมูหรือเนื้อทอดก็ได้ หอมอร่อยอย่าบอกใครเชียว
  


ยอดอ่อน นิยมนำมากินเป็นผักสดแกล้มแกงเผ็ด
  


ยอดอ่อนนิยมนำแกงส้ม แกงคั่ว แกงเลียง และต้มกะทิ
  


ผล นำมาซอยตำน้ำพริก ใบอ่อนและใบเพสลาดนำมาใส่ในต้มยำให้มีรสเปรี้ยว หรือนำมากินเป็นผักแกล้ม และใส่ในผักดองเพื่อให้มีรสเปรี้ยวและไม่บูดเสียได้ง่าย
  


ใช้ยอดอ่อน เป็นผักแกล้มกับแกงเผ็ด ยำ หรือใช้จิ้มน้ำพริกก็ได้
  


ยอดอ่อนรับประทานเป็นผักเหนาะ
  


ยอดและผลอ่อนนิยมนำมาลวกหรือต้มและราดด้วยน้ำกะทิเป็นผักจิ้มน้ำพริก หรือใช้ยอดอ่อนเป็นผักใส่ในห่อหมก แกงเลียง และแกงอ่อม ผลแก่ใช้ทำส้มตำ
  


ยอดอ่อนใช้เป็นผักสดสำหรับจิ้มน้ำพริก จิ้มปลาร้า ใส่ในแกงคั่วปลาดุก รองก้นกระทงห่อหมก ในภาคใต้นิยมนำมาทำกุ้งและปลาชุบแป้งทอดกินกับน้ำจิ้ม
  


ดอกและยอดอ่อนนำมาลวกด้วยน้ำเดือดหรือน้ำข้าวร้อน ๆ หรือฟาดไฟเพื่อลดความขมแล้วนำมาเป็นผักจิ้มน้ำปลาพริกหรือน้ำปลาหวาน แกล้มปลาดุกย่าง
  


ยอดอ่อนและดอกนำมาเป็นผักสดรับประทานกับแกงเผ็ด หรือจิ้มน้ำพริก มีกลิ่นหอมฉุนคล้าย ๆ ใบโหระพา นิยมรับประทานในภาคใต้
  


ดอกใช้ทำอาหารได้หลายชนิด เช่น แกงส้ม ยำ ทอดกับไข่ หรือลวกจิ้มน้ำพริก นอกจากนี้ ยังทำเป็นขนมดอกโสนได้อีกด้วย
  


ใช้ยอดอ่อน ใบเพสลาดมาประกอบอาหารได้อย่างด้วยกันคือ แกงเลียง แกงจืด ต้มและลวก ทำห่อหมก จิ้มน้ำพริก ต้มต้มกะทิ ผัดผักรวม ผัดน้ำมันหอย ฯลฯ เมล็ดอ่อน ใช้แกงจืด เมล็ดแก่ต้มกับเกลือรสชาติอร่อย
  

       2.  รั้วที่ปลูกโดยพืชสมุนไพรชนิดเลื้อยเกาะ ใช้พืชผักสมุนไพรที่มีลำต้นเป็นเถาเลื้อยพัน ยึดเกาะกับแนวหรือโครงรั้วที่สร้างด้วยวัสดุต่างๆ เช่น รั้วเหล็กดัด รั้วลวดหนาม รั้วขัดแตะ รั้วไม้รวก รั้วไม้ไผ่ ฯลฯ พืชสมุนไพรที่นำมาปลูกเลื้อยเกาะรั้วนี้มักเป็นพืชล้มลุก ซึ่งจะให้ใบ ยอดอ่อน ดอก และผลเป็นอาหาร ได้แก่
  


ยอดอ่อนนำมาต้มแล้วราดด้วยน้ำกะทินำมาเป็นผักจิ้มน้ำพริก
  


ดอกตูมและดอกบานใช้ทำอาหารได้หลากหลายชนิด เช่น แกงส้ม แกงจืด ไข่ตุ๋น ยำ ผัด ลวกเป็นผักจิ้มน้ำพริก หรือ ชุบแป้งทอดกรอบ
  


ใช้ยอด ใบอ่อน ผลอ่อน นำไปลวกเป็นผักจิ้มน้ำพริก หรือนำยอดและใบอ่อนปรุงเป็นแกงจืด แกงเลียง แกงคั่ว แกงกะทิ ใส่ในก๋วยเตี๋ยว หรือผัดไข่เจียวใส่ใบตำลึงก็อร่อยดี
  


ฝักอ่อนใช้รับประทานเป็นผักสด จิ้มนำพริก หรือ แกล้มกับแกงเผ็ด ลาบ นอกจากนี้ยังนิยมนำมาแกง ผัด หรือยำ และหั่นฝอยใส่ในทอดมันปลา
  


ฝักอ่อนนำมาเป็นผักสด ผักจิ้ม กินแกล้มกับแกงเผ็ด ลาบ ส้มตำ ฯลฯ นอกจากนี้ยังนิยมนำมาแกง ผัด หรือยำ และหั่นฝอยใส่ในทอดมันปลา
  

ผลอ่อนนำมาลวกหรือต้มเป็นผักจิ้ม หรือผัดใส่ไข่ แกงใส่กะทิ ทำแกงจืดและแกงเลียง ยอดอ่อนนำมาลอกเปลือกออกแล้วลวกหรือต้มเป็นผักจิ้มน้ำพริก ยิ่งถ้าราดด้วยน้ำกะทิจะมีรสชาติดีขึ้น
  


ผลอ่อนนำมาต้มหรือลวกเป็นผักจิ้มน้ำพริก นำมาแกงจืด แกงเลียง ผัดน้ำมัน หรือผัดใส่ไข่ ได้หลายอย่าง
  


ดอก ยอดและใบอ่อนรับประทานเป็นผักสดหรือนำมาลวกเป็นผักจิ้มน้ำพริก และใส่แกงอ่อมหอย แกงแค หรือแกงส้ม
  


ช่อดอกอ่อนนำมาลวกหรือต้มเป็นผักจิ้มน้ำพริก ผัดใส่ไข่ และชุบแป้งทอดกรอบจิ้มน้ำซอส
  


ผลอ่อน ยอดอ่อนที่ลอกเปลือกออกแล้วนำมาลวกหรือต้มเป็นผักจิ้มน้ำพริก ถ้าราดด้วยน้ำกะทิจะมีรสชาติดีขึ้น หรือผัดใส่ไข่ ผลแก่นำมาแกงใส่กะทิ และทำแกงจืด
  
  


ผลอ่อน ยอดอ่อนที่ลอกเปลือกออกแล้วนำมาลวกหรือต้มเป็นผักจิ้มน้ำพริก ถ้าราดด้วยน้ำกะทิจะมีรสชาติดีขึ้น ผัดใส่ไข่ แกงใส่กะทิ ทำแกงจืดและมะระยัดไส้ด้วยหมูสับ
  


ใช้ยอด ใบอ่อน และผล นำมาลวกหรือต้มเป็นผักจิ้มน้ำพริก นอกจากนี้ยอดและใบอ่อนนำมาทำเป็นแกงเลียง ต้มกะทิ ผลนำมาผ่าซีกเอาเมล็ดออกใส่ในแกงกะทิก็ได้
  


ใบอ่อน แก่ โขลกคั้นน้ำมาแกงกับ หน่อไม้ แกงขี้เหล็ก